เมื่อบ่ายไปงาน สัมนา Mobile Apps ที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้ข้อมูลดีๆ มาเยอะ ทั้งข้อมููลจากผลวิจัยของ CMMU และจากวิทยากรรับเชิญ
ขอยกข้อมูลอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเขียนเก็บเป็นโน๊ตกันลืมไว้
ข้อมูลนั้นคือวิธีในการใช้แอพเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจขององค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เขาไปทำสำรวจและวิจัยมา
วิธีการใช้แอพเป็นเครื่องมือทางธุรกิจมีสองรูปแบบ คือใช้สร้างเป็นธุรกิจและใช้สนับสนุนองค์กร
- ใช้สร้างเป็นธุรกิจ
แอพประเภทนี้มีการสร้างรายได้จาก End User โดยตรง เช่นจากการขายแอพ, In-app purchase หรือแม้กระทั่งการขายแบนเนอร์โฆษณาในแอพ ในงานยกตัวอย่างแอพของ ASTV, Wongnai, Shop Spot และ Molome - ใช้สนับสนุนองค์กร
เป็นการใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และเพิ่มช่องทางในการโปรโมทสินค้าและบริการขององค์กรผ่านทาง mobile application ในงานยกตัวอย่างแอพของ AIS, NokAir, KBank, Rarinjinda ซึ่งโดยรวมแอพประเภทนี้ก็ทำหน้าที่เป็นเหมือนอีกช่องทางที่ทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น
จริงๆ ผมเชื่อว่าข้อมูลข้างต้น นักพัฒนาหรือคนที่ใช้ smart phone อยู่เป็นประจำคงเข้าใจดีอยู่แล้ว เพียงแต่ผมเห็นว่าข้อมูลที่ได้ฟังมาวันนี้เป็นผลมาจากการสำรวจและวิจัยโดยตรง จึงน่าจะโน๊ตเก็บไว้ เท่านั้นเอง :-D
ข้อมูลอีกส่วนที่นักพัฒนาน่าจะสนใจคือ คำตอบจากคำถามที่ว่าเราควรจะพัฒนา app แบบ mobile website application (รวมถึงเทคโนโลยี cross platform อย่าง HTML5) หรือ native application ซึ่งผู้ตอบคำถามก็คือพี่เนยแห่ง Molome ซึ่งใจความที่ผมจับได้พี่เนยแสดงความเห็นว่า native app มี performance ที่ดีกว่าและมีลูกเล่นที่เยอะกว่า แต่ในระยะหลังๆ เริ่มมีการพัฒนา app ด้วย HTML5 มากขึ้น ซึ่งพี่เนยก็บอกว่าถ้าทำ app แนว informative (app ที่นำเสนอ content เป็นหลัก) ใช้ HTML5 ก็เหมาะดี
โดยส่วนตัวผมก็เห็นด้วยกับความเห็นนี้ เพราะจากที่เคยเจอมาเอง ผมเชื่อว่าถ้าองค์กรต้องการจะมี mobile application เป็นของตัวเองและต้องการรีบผลักดันออกสู่ตลาดเร็วๆ ใน short term ใช้ HTML5 ก็ถือว่าเหมาะเพราะใช้เวลาและงบประมาณในการพัฒนาน้อยกว่าและเป็น cross platform แต่ใน long term เมื่อมีความต้องการฟังก์ชันที่มากขึ้น ควรจะพัฒนาเป็น native app เพราะมี performance ที่ดีกว่าและที่สำคัญ "User Experience" ก็ดีกว่าด้วย
No comments:
Post a Comment